วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ส่วนประกอบของ Blog

ส่วนประกอบของ Blog


1.ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) 
ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อของบล็อกนั้น ๆ 

2.วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)
เป็นวันที่ และมีเวลากำกับอยู่ด้วยตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไห ร่ 

3.ชื่อบทความ (Entry Title)
ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก

4.ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body) 
อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือแอนิเมชั่น โดยส่วนประกอบ เหล่านี้จะรวมเป็นเนื้อหาของบทความ

5.คอมเม้นต์ (Comment tag)
เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอก คอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่าน คอมเม้นต์ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา

6.ปฏิทิน (Calendar)
บล็อกบางแห่งอาจมีปฏิทินอยู่ด้วยโดยใน ปฏิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่เพื่ออ่าน บทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวก

7.บทความย้อนหลัง (Archives)

บทความเก่า หรือบทความย้อนหลังอาจมี การจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อกโดยบล็อก แต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลังไม่ เหมือนกันเช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้


เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้

Google Drive


Google Drive คืออะไร
            Google Drive เป็นบริการจาก Google ที่ทำให้เราสามารถ นำไฟล์ต่าง ๆ ไปฝากไว้กับ Google ผ่าน พื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์และการสำรองข้อมูลไฟล์ที่มีความปลอดภัย ทำให้เราสามารถใช้ไฟล์เหล่านั้นที่ ไหนก็ได้ ไม่เพียงแค่ฝากไฟล์ได้เท่านั้นคุณยังสามารถ สามารถแบ่งปันไฟล์กับคนที่ต้องการ และสามารถ แก้ไขร่วมกันได้จากอุปกรณ์หลายประเภท เช่น อุปกรณ์มือถือ อุปกรณ์แทบเลต หรือคอมพิวเตอร์ 
สำหรับพื้นที่ ๆ Google ให้เราใช้บริการฟรีนั้นอยู่ที่ 15 GB สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป และหากต้องการ พื้นที่มากขึ้น ก็สามารถซื้อพื้นพี่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มได้ ส่วนราคาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที แต่หากสำหรับ ผู้ใช้งานที่เป็น Google Apps for Education นั้นจะอยู่ที่ 10TB
ข้อดีของ Google Drive
·       เก็บไฟล์ได้ทุกประเภท   
·       ดูข้อมูลแก้ไขเอกสารได้จากทุกที่ ทุกเวลา 
·       แชร์ไฟล์,โฟล์เดอร์ เพื่อทำงานร่วมกันได้
ข้อเสียของ Google Drive
·       ต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

1.       การเข้าใช้งาน Google Drive 
a. เปิดโปรแกรมเบราว์เซอร์ข้นึมาแล้วเข้ามาที่เว็บไซต์ www.google.co.th   

 b.       คลิก Drive

รูปร่างหน้าตาของ Google Drive


การอัพโหลดไฟล์
 สำหรับการอัพโหลดไฟล์สามารถ ทำได้สองช่องทางคือ อัพโหลดผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และอัพโหลด ผ่าน Application 
3.1 การอัพโหลดผ่านเว็บเบราว์เซอร์
 เข้าใช้งาน Google Drive แล้วคลิกขวาเลือก อัพโหลดไฟล์ หรือ โฟลเดอร์ใหม่

 แล้วเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการอัพโหลด
จากนั้นระบบจะทำการอัพโหลดให้ ให้รอจนกว่าจะขึ้นว่า Uploads completed

 4. การแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์
 คลิกที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์


กรอกรายละเอียดดังนี้
ช่อง กรอกอีเมล์ของเพื่อน หรือผู้ร่วมงานที่ต้องการแชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นๆให้ 
ช่อง เลือกว่าจะให้เพื่อนหรือผู้ร่วมงาน สามารถแก้ไขได้ (Can edit) หรือสามารดูได้อย่างเดียว (Can View)
ช่อง ใส่รายละเอียด หรือจะเว้นว่างไว้ก็ได้ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม “Send”

Google Drive ไม่จำกัดแค่การท างานบนเว็บเบราว์เซอร์หรือแค่บนคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยัง สามารถ ทำางานบนสมาร์ทโฟนทั้งระบบปฏิบัติการ IOS, Android และ Windows Phone ได้เพียงแค่เข้าไป ดาวน์โหลด Apps Google Drive ที่App Store, Play Store และ Windows Store 


ที่มา http://edu14google.blogspot.com/p/google-drive.html


 OneDrive สำหรับ Android


ลงชื่อเข้าใช้

เมื่อต้องการเพิ่มบัญชีผู้ใช้ส่วนบุคคล ให้ใส่บัญชี Microsoft ของคุณบนหน้าลงชื่อเข้าใช้ เมื่อต้องการเพิ่มบัญชีผู้ใช้ OneDrive for Business ให้ใส่ที่อยู่อีเมลที่คุณใช้สำหรับบริษัท โรงเรียน หรือองค์กรอื่นๆ ของคุณ
ถ้าคุณมีปัญหาในการลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีผู้ใช้ OneDrive for Business ให้ลองลงชื่อเข้าใช้ที่ OneDrive.com หรือติดต่อแผนก IT ของคุณ

อัปโหลดรูปถ่ายและวิดีโอที่คุณถ่ายโดยอัตโนมัติ (เฉพาะบัญชีผู้ใช้ OneDrive ส่วนบุคคลเท่านั้น)

เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้ OneDrive เป็นครั้งแรก คุณจะถูกถามว่า คุณต้องการอัปโหลดรูปถ่ายและวิดีโอที่คุณถ่ายบนโทรศัพท์ของคุณไปยัง OneDrive โดยอัตโนมัติหรือไม่ แตะ เปิดใช้ เพื่อเปิดใช้การอัปโหลดอัตโนมัติ คุณยังสามารถเปิดจาก การตั้งค่า ได้ด้วย วิธีการมีดังนี้
  1. ในแอป OneDrive ให้แตะ เมนู เมนูของ Delve สำหรับ Android จากนั้นเปิด การตั้งค่า
  2. แตะ อัปโหลดจากกล้อง
  3. ตั้งค่า อัปโหลดจากกล้อง เป็น เปิด
หมายเหตุ: 
  • การสำรองข้อมูลกล้องจะมีให้ใช้งานเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้งาน Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) หรือเวอร์ชันที่ใหม่กว่าเท่านั้น
  • เพื่อเป็นการประหยัดแบตเตอรีของอุปกรณ์ระหว่างการดาวน์โหลด เลือกกล่องการเครื่องหมาย อัปโหลดเฉพาะเวลาชาร์จ
  • รูปถ่ายและวิดีโอทั้งหมดจะถูกอัปโหลดด้วยขนาดดั้งเดิมเมื่อคุณอยู่บนเครือข่าย Wi‑Fi ถ้าคุณต้องการใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือของคุณ ให้เปิดแอป OneDrive เปิด การตั้งค่า แตะ การสำรองข้อมูลกล้อง แตะ อัปโหลดโดยใช้ แล้วเลือก Wi‑Fi และเครือข่ายอุปกรณ์เคลื่อนที่
  • ม้วนฟิล์มบนอุปกรณ์ของคุณอัปโหลดไปยัง OneDrive แทนที่จะเป็นการซิงค์ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถลบดรูปถ่ายและวิดีโออัปโหลจากอุปกรณ์ของคุณ และสำเนาใน OneDrive จะไม่ได้รับผลกระทบ

อัปโหลดไฟล์หรือรูปถ่าย

อัปโหลดไฟล์ไปยัง OneDrive เช่น เอกสาร สมุดบันทึก OneNote รูปภาพ วิดีโอ และเพลง ด้วยเครื่องมือการอัปโหลด
เคล็ดลับ: ถ้าอุปกรณ์ของคุณถูกตั้งค่าให้อัปโหลดรูปภาพไปยัง OneDrive โดยอัตโนมัติ รูปภาพที่คุณถ่ายด้วยอุปกรณ์ของคุณจะอยู่ในโฟลเดอร์ ม้วนฟิล์ม ของ OneDrive คุณไม่จำเป็นต้องอัปโหลดไฟล์ไปยัง OneDrive ด้วยตนเอง
  1. ในแอป OneDrive app เปิดโฟลเดอร์ที่คุณต้องการเพิ่มไฟล์
  2. แตะ เพิ่ม เพิ่มลงใน OneDrive ที่ด้านล่างของหน้าจอ จากนั้นแตะ อัปโหลด
    อัปโหลดไปยัง OneDrive
  3. แตะไฟล์ที่คุณต้องการอัปโหลด ไฟล์อัปโหลดไปยังโฟลเดอร์ที่คุณได้เปิด

ดาวน์โหลดไฟล์หลายไฟล์จาก OneDrive ลงในอุปกรณ์ของคุณ

  1. ในแอป OneDrive เปิดโฟลเดอร์ที่มีไฟล์คุณต้องการดาวน์โหลด ตรวจสอบว่าเนื้อหาของโฟลเดอร์ปรากฏในมุมมองรายการ ไมใช่รูปขนาดย่อ
  2. แตะกล่องกาเครื่องหมายของไฟล์คุณต้องการดาวน์โหลด
    ไฟล์ที่เลือก
  3. แตะ เพิ่มเติม ปุ่ม เพิ่มเติม ที่มุมด้านบนของหน้าจอแล้วแตะ บันทึก
  4. แตะลูกศรที่ บันทึกไปยังตำแหน่งที่ตั้งนี้ เพื่อดูโฟลเดอร์บนอุปกรณ์ของคุณ เลือกโฟลเดอร์สำหรับไฟล์ที่ดาวน์โหลด จากนั้นแตะ บันทึก
    บันทึกไฟล์จาก OneDrive

ค้นหาไฟล์ที่คุณกำลังมองหา

คุณสามารถค้นหาข้อความภายในไฟล์ และแม้กระทั่งภายในรูปถ่ายได้ เมื่อต้องการค้นหาข้อความในไฟล์หรือรูปถ่าย ให้แตะ ค้นหา ปุ่มค้นหาที่ด้านบนของรายการข้อความ ในแถบด้านบน จากนั้นพิมพ์วลีที่คุณต้องการในกล่อง ค้นหา

สร้างโฟลเดอร์

คุณสามารถเพิ่มโฟลเดอร์ในมุมมอง ไฟล์ หรือภายในโฟลเดอร์อื่นๆ ใน OneDrive
  1. ในมุมมองหรือโฟลเดอร์ที่คุณต้องการโฟลเดอร์ใหม่ แตะ เพิ่ม เพิ่มลงใน OneDrive ที่ด้านล่างของหน้าจอ จากนั้นแตะ สร้างโฟลเดอร์
    อัปโหลดไปยัง OneDrive
  2. พิมพ์ชื่อสำหรับโฟลเดอร์ จากนั้นแตะ ตกลง

เพิ่มบัญชีผู้ใช้ OneDrive for Business

ในแอป OneDrive แตะไอคอน เมนู เมนูของ Delve สำหรับ Android แล้วแตะ เพิ่ม OneDrive for Business ลงชื่อเข้าใช้ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่คุณใช้สำหรับ OneDrive for Business
หมายเหตุ: ถ้าคุณต้องการลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีผู้ใช้ OneDrive for Business องค์กรของคุณต้องมแผนการสมัครใช้งาน SharePoint Online หรือ Office 365 สำหรับธุรกิจที่ตรงตามเกณฑ์ คุณไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีผู้ใช้จากไดเรกทอรีภายในองค์กร

สลับระหว่างบัญชีผู้ใช้

เมื่อต้องการสลับระหว่างบัญชีผู้ใช้ OneDrive ส่วนบุคคล และบัญชีผู้ใช้ OneDrive for Business หรือระหว่างบัญชีผู้ใช้ OneDrive for Business หลายบัญชี ให้แตะไอคอน เมนู เมนูของ Delve สำหรับ Android แล้วแตะบัญชีผู้ใช้ที่คุณต้องการใช้
เคล็ดลับ: คุณสามารถเพิ่มบัญชีผู้ใช้ส่วนบุคคลลงในแอป OneDrive ได้เพียงหนึ่งบัญชีเท่านั้น เมื่อต้องการเปิดบัญชีผู้ใช้ส่วนบุคคลอื่น ให้เปิด การตั้งค่า แตะชื่อบัญชีผู้ใช้ของคุณ แตะ ลงชื่อออก แล้วลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีผู้ใช้ที่คุณต้องการใช้

แชร์ไฟล์ (เฉพาะบัญชีผู้ใช้ OneDrive ส่วนบุคคลเท่านั้น)

ในแอป OneDrive ใหแตะกล่องกาเครื่องหมายตามไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่คุณต้องการแชร้ และแตะปุ่ม แชร์ แชร์ไฟล์
ถ้าคุณต้องการแชร์กับบุคคลเจาะจงที่น้อยลง เลือก เชิญบุคคล
ถ้าคุณต้องการแชร์กับบุคคลจำนวนมาก เช่น สื่อทางสังคมหรือโพสต์ในบล็อก เลือก แชร์ลิงก์
เชิญบุคคลที่จะแชร์
  1. แตะ แชร์ > เชิญบุคคล
  2. ที่ เพิ่มบุคคลที่จะแชร์ด้วย ใส่ชื่อหรืออีเมลแอดเดรส่ที่คุณต้องการ
  3. ถ้าคุณต้องการให้ผู้รับจะสามารถเพิ่มการเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ไข เลือกกล่องที่ อนุญาตการแก้ไข ยกเลิกการเลือกกล่องนั้นเมื่อต้องให้ไฟล์เป็นแบบอ่านอย่างเดียวสำหรับผู้รับ
  4. แตะ ส่ง ส่งคำเชิญการแชร์ ผู้รับได้รับข้อความอีเมลที่มีลิงก์ไปยังเอกสาร
แชร์ลิงก์
  1. แตะ แชร์ > แชร์ลิงก์
  2. เลือกว่าคุณต้องการให้ผู้รับสามารถ แก้ไขไฟล์ หรือ ดู ไฟล์แบบอ่านอย่างเดียว แล้วแตะตกลง
  3. ในรายการ แชร์ลิงก์ทาง แตะแอปที่คุณต้องการใช้สำหรับการแชร์ลิงก์ คุณอาจต้องลากรายการขึ้นเพื่อดูตัวเลือกทั้งหมด
หมายเหตุ: โปรดทราบว่า ใครก็ตามที่มีลิงก์สามารถเปิด ดาวน์โหลด และบันทึกเอกสารได้ ทุกคนยังสามารถส่งต่อลิงก์ได้ด้วย
แชร์เป็นสิ่งที่แนบมา
  1. แตะ แชร์ > ส่งไฟล์
  2. ในรายการ แชร์กับ แตะแอปที่คุณต้องการใช้เพื่อส่งไฟล์ที่แนบมา
  3. ถ้าคุณต้องการใช้แอปนั้นทุกครั้งที่คุณแชร์เป็นไฟล์แนบมา แตะ เสมอ ถ้าคุณแตะ เพียงครั้งเดียว ตัวเลือกนีจะ้ปรากฏขึ้นอีกในครั้งถัดไปที่คุณแชร์เป็นสิ่งที่แนบมา
    หลังจากที่คุณทำการเลือกนี้ แอปคุณเลือกจะเปิดขึ้น ใช้แอปนั้นเพื่อแชร์ไฟล์
เคล็ดลับ: การแชร์เป็นสิ่งที่แนบมาใช้งานได้เฉพาะกับไฟล์เดี่ยวๆ เท่านั้น ถ้าคุณต้องการแชร์โฟลเดอร์ ใช้ เชิญบุคคล หรือ แชร์ลิงก์

การสร้างบล็อก http://www.slideshare.net/roongrusameesonjai/blog-13516733


เทคโนโลยีการจัดการความรู้




เทคโนโลยีการจัดการความรู้






   
























การจัดการความรู้ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)


การจัดการความรู้ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” เป็นผู้นำในการให้บริการด้ารสื่อสารครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของ ทรู คือ ความพึงพอใจของลูกค้า การให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก ดังนั้น โครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน Customer Management จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อ ทรู เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์กรโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้
เป้าหมายในการจัดการความรู้ และยุทธศาสตร์ของ ทรู เกี่ยวข้องกันก็คือการจัดการความรู้ให้กับสายงานต่างๆ เพิ่มความสามารถของสายงานและศักยภาพของพนักงานซึ่งพนักงานสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน อีกทั้งพนักงานสามารถหาความรู้ข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่ทางบริษัทได้เตรียมไว้ให้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้พนักงานมีความสามารถเพิ่มขึ้นพร้อมที่จะให้บริการลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของบริษัท ลูกค้าจะพึงพอใจต่อการให้บริการของพนักงานที่พร้อมทั้งความสามารถและระยะเวลาที่ให้บริการที่รวดเร็ว
การทำ KM ของทรูเริ่มจากความต้องการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าในช่วงต้น  ประกอบกับบริษัทมีสินค้าและบริการที่หลากหลายมาก ความต้องการที่จะขยับตัวชี้วัดที่ทำให้ลูกค้าพอใจ ด้วยเหตุนี้ เป็นโจทย์ที่ True คาดว่า  KM  จะสามารถช่วยให้คำตอบได้ จึงเกิดเป็น KM ตั้งแต่นั้นมา ในเดือนมกราคม 2544 จึงเกิดระบบ KM นำร่องเพื่อสนับสนุนด้าน Call Center ต่อมาได้เข้าร่วมโครงการ KM กับสถาบันเพิ่มผลผลิต เกิดการพัฒนารูปแบบ KM Organization และจนปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนได้ CM web Phase3 เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยีบล็อก (Blog หรือ Weblog) จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้
   - ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
- ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
         - ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
         - ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VCD Conference)
          - ระบบการเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (e-Broadcasting)
          - KM Website
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นนำการจัดการความรู้มาใช้กับพนักงาน โดยยึดหลักการให้บริการที่ดีเลิศแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีประสิทธิภาพให้ถึงมือลูกค้า การจัดการความรู้ภายในองค์กรที่ดีจะเป็นปัจจัยที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า รวมทั้งทำให้สามารถพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทให้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้วย




-----------------------------------------------------  เอกสารอ้างอิง  -------------------------------------------------------
ที่มา psdg.anamai.moph.go.th/download/KM.../KM/KM_8_TURE%20(300952_jiew).doc

SECI Model




SECI Model





 1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit 
กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา 
          2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit 
กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่ 
          3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit 
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร 
          4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit 
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร 

------------------------------------------------------  เอกสารอ้างอิง  -----------------------------------------------------

ที่มา  http://welcome2km.blogspot.com/p/seci-model-nonaka-takeuchi1995-tacit.html

KM - Process สศส.

กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้


 กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ  ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต  ช่วยในการแสวงหาความรู้จากแหล่งใหม่ๆ  ทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้  มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ  นอกจากนี้การมีระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   โดยกระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
1.  กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) 
              เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร   ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน  (บุญดี บุญญากิจ และคณะ 2549 ;  สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ, 2548)  ดังนี้
              1.1  การบ่งชี้ความรู้หรือการค้นหาความรู้ (Knowledge  Identification)  เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมี วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย อะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยจำเป็นต้องรู้ว่า  ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใครหรือการทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เพื่อหาว่าความรู้ใดมีความสำคัญสำหรับองค์กร แล้วจัดลำดับความสำคัญของความรู้เหล่านั้น เพื่อให้องค์กรวางขอบเขตของการจัดการความรู้และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              1.2  การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)  จากแผนที่ความรู้ องค์กรจะทราบว่ามีความรู้ที่จำเป็นที่ต้องการมีอยู่หรือไม่ ถ้ามีแล้วองค์กรก็จะต้องหาวิธีการในการดึงความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่อาจอยู่กระจัดกระจายมารวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขั้นตอนนี้ประสบความสาเร็จคือ บรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กรที่เอื้อให้บุคลากรกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีส่วนช่วยให้บุคลากรสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากภายนอกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
              1.3  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยองค์กรต้องจัดความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
              1.4  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) องค์กรต้องประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจและใช้ได้ง่าย  ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
              1.5  การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) องค์กรต้องมีวิธีการจัดเก็บและกระจายความรู้เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้ สามารถเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
              1.6  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้(Knowledge Sharing) ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีผสมผสานเพื่อให้บุคลากรได้เลือกใช้วิธีการตามความถนัดและความสะดวก
              1.7  การเรียนรู้ (Learning) วัตถุประสงค์ที่สาคัญที่สุดในการจัดการความรู้คือการเรียนรู้ของบุคลากรและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาและปรับปรุงองค์กร การเรียนรู้ของบุคลากรจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะไปเพิ่มพูนความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นเรื่อยๆ ความรู้เหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ จนเป็นส่วนหนึ่งของงาน
2.  เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที (Information and Communications Technology)  หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ  สำหรับในด้านการจัดการความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ (สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547)  ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (น้ำทิพย์ วิภาวิน ,2547 ; สมชาย  นําประเสริฐชัย , 2549)  เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้นั้นประกอบด้วย
              2.1 เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ตได้
              2.2  เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง เช่น โปรแกรมการทำงานเป็นกลุ่มหรือกรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นซอฟแวร์ที่ทำให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมผ่านระบบเครือข่าย มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการประชุมร่วมกัน
              2.3  เทคโนโลยีในการจัดเก็บความรู้ (Storage Technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ เช่นระบบจัดการฐานข้อมูล  เหมืองข้อมูล (Data Mining) ที่เป็นการดึงข้อมูลจากแหล่ง จัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูล (Data Warehouse) มารวบรวมและแสดงผลในรูปแบบที่ใช้ประโยชน์ได้
              กล่าวโดยสรุป  กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยเทคโนโลยีจะสนับสนุนกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้  เพื่อให้การดำเนินงานได้ประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้  ทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้  การนำเสนอ  การจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้ต่างๆ  รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย



------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง ------------------------------------------------------

บุญดี  บุญญากิจ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ก.พลพิมพ์.
สมชาย  นําประเสริฐชัย. (2549). เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก http://www.kmi.or.th/document/Tech_KM.pdf
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2547).  การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

ที่มา http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_3/km.html